“คนที่ฉลาดเกินกว่าจะยุ่งเรื่องของการเมือง จะถูกลงโทษด้วยการถูกคนที่โง่กว่าปกครอง” และ “การเสียสละของนักปกครอง”

“คนที่ฉลาดเกินกว่าจะยุ่งเรื่องของการเมือง จะถูกลงโทษด้วยการถูกคนที่โง่กว่าปกครอง” และ “การเสียสละของนักปกครอง”
.
หากใครเป็นเพื่อนเราหลายๆคนใน Facebook ที่เรียน มธ. มาด้วยกัน คงรู้จักวิชา “ยำตก” หรือ “อารยธรรมตะวันตก” กันดี ไม่รู้เคยเรียนกันบ้างไหม แต่รุ่นเก่าอย่างอิชั้น ก็คือวิชาบังคับที่ต้องเรียนแหละ ????
.
? เหตุการณ์ของสภาพบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้นึกถึงอดีตที่เคยเรียนวิชาพวกนี้ แต่ตอนนั้นยอมรับว่าเด็กมากๆ โครตจะไม่เข้าใจเลยว่าทำไมเราต้องเข้าใจแนวคิดและปรัชญาทางการเมืองด้วยวะ แค่วิชาอื่นๆที่เรียนกันก็เอาตัวไม่รอดอยู่ล่ะ “วิชาอารยธรรมตะวันตก” จึงถือว่าเป็นวิชาที่โครตหิน และเป็น “ยาขม” สำหรับเราและอีกหลายๆคน
.
ย้อนไปเมื่อเกือบสิบปีก่อน หนึ่งในนักปรัชญาแรกๆที่เรารู้จักคือ “อริสโตเติล” ชายผู้คร่ำหวอดในวงการปรัชญาตะวันตก และเป็นที่กล่าวขาน …อ่ะๆๆๆ อย่าเพิ่งปิดบทความนี้ไป ได้ยินแค่คำว่า “ปรัชญา” ก็ปวดหัวปวดแตดกันแล้วช่ะ ?? แต่จริงๆแล้วเนี่ย รากฐานของปรัชญาต่างๆ มันโครตใกล้ตัวเราทุกคนเลยนะ และนางไม่ใช่คนในรูปนี้ที่จะกล่าวถึงด้วย
.
คือรากฐานของปรัชญาทางการเมืองหลายอย่างในสมัยยุคโบราณ กรีก-โรมัน เนี่ย อีตาอริสโตเติลเนี่ย นางก็ปูพื้นฐานมาไว้ดี ถึงขั้นเป็นผู้คร่ำหวอดในวงการปรัชญาสมัยนั้น ฟีลแบบผู้นำด้านปรัชญา จนตั้งสำนักตัวเองได้ โครตฮอต ?? เป็นแบบไลฟ์โคชคนแรกๆของโลกเลยก็ว่าได้ ???
.
นางบอกว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีธรรมชาติอยู่ในรัฐ เพราะมนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะ ‘แสวงหาอำนาจ’ และ ‘สิ่งที่จะตอบสนองความปราถนา’ ที่หาได้จากในรัฐ” และนางยังสรุปใจความสำคัญของหลายๆเรื่องที่นางสอนด้วยว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติแล้ว เป็นสัตว์การเมือง”!!! ?️
.
เอาล่ะเหวยยยยยยยย ทำไมนางสรุปว่างั้นอ่ะ …คือพอมานั่งนึกดีๆแล้ว เอาเข้าจริง มนุษย์นั้นไม่สามารถอยู่ได้โดยโดดเดี่ยวคนเดียว เพราะโดยพื้นฐาน “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” ลองให้อยู่คนเดียวสัก 1-2 ปีโดยห้ามพูดห้ามติดต่อสื่อสารกับใครเลย คงบ้าตาย ขนาดแค่ กักตัวกัน 14 วัน ยังอยากจะมุดดินหนี ??
.
ด้วยความที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม จึงไม่พ้นที่จะพูดถึง “รัฐ” ซึ่งเป็นวิถีทางที่ทำให้ผู้คนตอบสนองความต้องการ อย่างแรกเลยคือเรื่องของ “ความปลอดภัย” รัฐสามารถให้ความปลอดภัยกับประชาชนได้ เช่น การเป็นเอกราช การมีทหารปกป้อง สอดส่องความเรียบร้อย ความเป็นอยู่ รวมไปถึงความปราถนาต่างๆในสิทธิที่มนุษย์ควรจะอยู่ ควรจะเป็น
.
โอเคร! พูดไปเดี๋ยวยาว สรุปง่ายๆน้่นแหละ มนุษย์ยังไงก็ต้องอยู่ใน “รัฐ” โดยธรรมชาตินั่นแหละ!!!!
.
ทีนี้ อีตาอริสเนี่ย นางก็ตั้งสำนักปรัชญาช่ะ ซึ่งก่อนหน้าที่นางจะตั้งได้ นางก็มีอาจารย์ใช่ไหม อาจารย์นางชื่อว่า “เพลโต้” (เดี๋ยวมาเสริม) ล่ะ เพลโตเนี่ย นางก็มีอาจารย์ที่ชื่อว่า “โสเครตีส” อีกที(ไม่งงนะ) ซึ่งอีตาคนนี้เนี่ย เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังว่ามันเกี่ยวกับการเมืองยังไง
.
“โสเครตีส” ตาคนนี้ต้องบอกก่อนว่าเป็นคนไม่หล่อนะ ฟีลแบบไม่ใช่พิมพ์นิยมในสมัยนั้น นึกถึง “ขุนช้าง” แบบบ้านเรา.. โอเคร! ชั้นไม่ได้บุลลี่เด้อ แต่แค่ทำให้เห็นภาพก่อน เป็นอาจารย์ของ เพลโต้ เด้อ
.
โสเครตีส นางเป็นคนช่างซักช่างถาม รวมไปถึงถามหาเรื่องราวต่างๆที่มักมี “เหตุ” และ “ผล” ประกอบการพูดเสมอๆ นางเป็นคนที่ชอบตั้งคำถามมากๆ อารมณ์แบบเจ้าหนูจำไม 555+ ถามทุกสิ่ง เอเวอรี่ติง จิงกาเบล…แต่ข้อดีของนางคือ พอตั้งคำถามแล้วนั้น นางก็พยายามไปค้นหาคำตอบมาจนได้นะ แบบถ้าเธอถามเรื่องนี้ ชั้นจะพาเธอไปดั้นด้นจนหาคำตอบแต่ละสิ่งได้เสมอๆ เป็นเจ้าแรกๆที่นำเสนอในเรื่อง “ตรรกวิทยา” ….
.
ความมั่นหน้ามั่นโหนกในการตั้งคำถามของโสเครตีส ดันไปเตะตา “ผู้นำศาสนา” ในยุคนั้น ลองนึกถึงภาพอาณาจักรเอเธนส์อันยิ่งใหญ่ สมัยกรีกโบราณ แต่เป็นช่วงท้ายๆล่ะนะ เป็นช่วงที่อาณาจักรกำลังจะล่มสลาย นึกถึงในหนังพวกสปาตาร์อ่ะ คือตอนนั้นสปาตาร์กำลังเข้ายึดเอเธนส์จริงๆ
.
โสเครตีสเคยบอกเอาไว้ว่า “การให้ประชาชนออกเสียง โดยที่พวกเขาไม่ได้รับการศึกษาหรือการอบรม ถือว่าเป็นความไม่รับผิดชอบ เพราะว่ามันจะเหมือนกับการส่งคนที่ไม่มีความรู้การเดินเรือ ให้ควบคุมเรือแล่นในท้องทะเล ในขณะที่มีพายุร้ายพัดกระหน่ำ”
.
เอาง่ายๆ โสเครตีสนางเปรียบเทียบว่า รัฐ เป็นเหมือน เรือ ที่กำลังอยู่กลางทะเลที่กำลังฝ่าพายุออกไป ถ้าประชาธิปไตย ก็คือคนในเรือนั่นแหละ เลือก “ผู้นำ” ที่จะมาเป็น “กัปตันเรือ” โดยที่เขาไม่มีความรู้อะไรเลย จึงเป็นไปได้ที่เรืออาจจะล่ม ฉิบหายไปทั้งลำเรือ!! เฉกเช่นอาณาจักรเอเธนส์ในขณะนี้ที่ถูกครอบงำไปด้วย “ผู้นำ” ที่ถูกเลือกโดยกลุ่มคนที่ไม่ดี
.
โสเครติสเป็นผู้มาก่อนกลางจริงๆ นางห่วงมากๆ ในเรื่องของเสียงข้างมาก หากเกิดความเหลื่อมล้ำ ในเรื่องความไม่รู้ในเรื่องจริงนั้น การเลือก “ผู้นำ” เข้าไปทำหน้าที่ ก็สูญเปล่า รังแต่จะได้ “ผู้นำที่ไม่ดี” เข้าไป
.
และคำถามของนางมีมากมาย ….ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง “ศาสนาและความเชื่อ”
.
ซึ่งนางก็ไปไฟ้ว์กับผู้นำทางศาสนาของเอเธนส์ พูดง่ายๆคือไปเหยียบตีนเจ้าถิ่นนั่นแหละ และคนพวกนั้นยังเป็นพวกหัวเก่า เชื่อมั่นในเรื่องเทพเจ้า และพอเหมาะพอดีกับสงครามเปโลโปนเนเชียน โสเครติสเอง ก็เคยเป็นทหารเข้าร่วมรบในสงครามกับสปาร์ตามากถึง 3 ครั้ง แต่เอเธนส์ก็มักพ่ายแพ้แก่สปาร์ตาเสมอๆ ซึ่งโสเครตีสก็ถามว่า” ถ้าเทพเจ้ามีจริง ทำไมไม่ทำให้เอเธนส์ชนะสปาต้าล่ะ” เหวยยยยยย จุก!!! จุกไปหมด!!!! คำถามเดียว เหวอไปทั้งเอเธนส์ ???? เพราะยุคนั้น คนบ้าเทพเจ้ามากกกกก มากแบบยูห้ามแตะต้องอ่ะ เพราะพวกเค้าคือ “เทพเจ้า” โสเครตีสเลยถูกตีหน้าว่าเป็นผู้ที่ทำให้เยาวชนและชาวเอเธนส์เสื่อมศรัทธาในศาสนาทำให้เมืองเอเธนส์ต้องพ่ายแพ้ต่อสปาร์ตา (เอ้า อิหยังวะ)
.
ล่ะอีคำถามนี้แหละ ทำให้โสเครดีสถูกตั้งข้อสังเกต และถูกเพ่งเล็ง จาก “รัฐ” และ “คนในรัฐ” หาว่านางเป็นคนไม่มีศาสนาและไม่เคารพเชื่อฟังผู้ปกครองบ้านเมือง
.
สุดท้าย นางถูกลงโทษและประหารชีวิต จากการที่ไม่เชื่อมั่นในพระเจ้า และมีการโหวตนะเว้ย ว่าให้ประหารชีวิตหรือไม่ประหารชีวิต คือสมัยนั้นมันมีกฎหมายแปลกๆหลายอย่างก็คือ ผู้คนสามารถทำการโหวตเพื่อไล่คนออกจากในพื้นได้ ฟีลเป็นประชาธิปไตยม่ะ อ่ะ ดูประชาธิปไตยจ๋าๆเลยเพราะให้โหวต ….ซึ่งโสเครตรีสในบั้นปลายชีวิต นางพยายามไม่อินการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยว…และสุดท้ายนางก็โดนด้วยเรื่องการเมืองนั่นแหละเล่นงาน ซึ่งวิธีการลงโทษประหารก็คือให้กินยาพิษที่สกัดจากต้นเฮ็มล็อค ?? อึกเดียวรู้เรื่อง ตุยเย่วาตานาเบ้ไอโกะ!!!
.
เอาง่ายๆคือ โสเครตีส นางฉลาดเกินไปที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มชนเก่าแก่ ที่รังแต่จะทำให้กลุ่มชนนี้อับอายในความกล้าแสดงออกของเขา (คุ้นๆม่ะ เหตุการณ์นี้ คนกล้าแสดงความคิดเห็นโดนลงโทษ ติ๊กต็อกๆ ???)
.
ในโลกนี้มักจะมีผู้ที่นำเสนอแนวคิดต่างๆที่แหวกแนวคติของสังคมในยุคนั้นๆ แต่สุดท้ายแล้ว กลับโดนสังคมลงโทษ สาปแช่ง และท้ายที่สุด หลายๆคนก็มักจะสรรเสริญพวกเขา…
.
ยกตัวอย่างง่ายๆ กาลิเลโอ ผู้ที่บอกว่า โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล พระอาทิตย์ต่างหาก และบอกว่าโลกไม่ได้แบนนะเออ ตอนนั้นถูกพวกคาทอลิกด่ายับเยิน ศาสนจักรสั่นคลอนไปหมด เพราะยังเชื่อว่าโลกแบนเป็นแผ่นแป้งโรตีอยู่
.
หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ยังเคยถูกพวกเดียรถีย์สาปส่ง พยายามใส่ความเท็จต่างๆนานา เพราะไปขัดแข้งขัดขานักบวชในสมัยนั้น(ไว้จะมาเล่าให้ฟัง) เพราะความเชื่อของพระพุทธเจ้าคือ การไม่ยึดติด แต่พวกเดียรถีย์เนี่ย ยังยึดติดในพิธีกรรมและรูปแบบต่างๆ โดนใส่ร้ายป้ายสีเวอร์
.
เอาง่ายๆ เราไม่รู้ว่าจะสามารถยกเหตุการณ์ในไทยหลายอย่างเปรียบเทียบได้ไหมนะ เอาแค่ตัวบุคคลก่อน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ทักษิณ, อั้ม เนโกะ, แพนกวิ้น เราไม่ได้บอกว่าคนเหล่านี่คือคนที่เราควรยกย่องหรือสรรเสริญนะ เพราะพวกเขาคือคนทั่วๆไปนั่นแหละ เพียงแต่พวกเขามีราคาที่จะต้องจ่าย… แต่สิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นคือ พวกเขาเหล่านี้มี “ความกล้า” กล้าที่จะตั้งคำถามและแสดงออกให้รัฐเห็น… แต่ขอให้คิดเอาเองแล้วกันว่า ทำไมรัฐถึงลงโทษ+รังแกพวกเขา ในฐานะที่พวกเขาเป็นคนที่กล้าแสดงออก หรือกล้าแสดงความคิดเห็นกับความจริงในหลายๆเรื่องที่รัฐไม่เห็นด้วย
.
รัฐในที่นี้ เราไม่ได้หมายถึง รัฐ ฐะ ที่เป็นเหล่าคณะผู้นำเท่านั้น แต่เราหมายถึง รัฐ ที่มีประชาชนอยู่ ประชาชนเห็นกันไหม ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร …
.
แต่อย่างที่บอกไป … ความตายของโสกราตีสได้ส่งแนวคิดให้คนรุ่นหลัง ๆ อย่างมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ก็เคยบอกไว้ว่า “เสรีภาพทางวิชาการที่เป็นจริงในทุกวันนี้ เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติอารยะขัดขืนของโสกราตีส” ซึ่งโสคราตีสนั้นจริงๆ นางเคยให้การสู้คดีด้วยนนะ นางบอกว่า “คนเห็นต่างอย่างเขาไม่ต่างจาก ‘เหลือบไร’ ง่ายที่จะตบทำลาย แต่ต้นทุนที่สังคมต้องจ่ายสำหรับการทำลายนั้นสูงลิ่ว” เอา สิแม่!!
.
สิ่งเหล่านี้หล่อหลอม ทำให้ เพลโต้(อ่ะ กลับมาก่อน ดึงสติก่อน) อีตาเพลโตอ่ะ จำได้ม่ะ นางเป็นลูกศิษย์ของโสเครตีสช่ะ นางก็จิตตก จากเหตุการณ์ที่โสเครตีสถูกประหารชีวิตจากการโหวต นางเลยไม่เชื่อว่าการเป็นประชาธิปไตยจะเป็นเรื่องที่ดี!!
.
นางมองว่า รัฐที่ดี ควรมี ผู้นำหรือคณะผู้นำที่ปกครองด้วย “ความยุติธรรม” และมี “ศีลธรรม” … นึกถึงคำว่า moral ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมของ มธ. ซึ่งจริงๆชื่อเดิมของ มธ. ก็คือ University of Moral and Political Sciences นั่นเอง
.
เอาล่ะ เดี๋ยวมันต้องมีคนบอกแน่ๆว่า โหย อีเด็ก มธ. อ่ะ บ้าการเมือง อินแต่การเมือง โอเคร เรื่องนี้ชั้นไม่เถียง เพราะอะไรน่ะเหรอ….ก็เพราะมันโครตเสียเวลาชีวิตไงล่ะ โครตขำ ขายขำ ดูซะบ้างนะ ว่าสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันมันไม่เกี่ยวข้องกับ “การเมือง” ตรงไหน ลองวิเคราะห์ดีๆนะจ๊ะ…
.
เอาล่ะ ด้วยความที่อีตาเพลโต้อ่ะ นางเห็นว่า ขนาดโสเครตีส ที่ตอนท้ายบั้นปลายของชีวิตนั้นไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ก็ดันมาตายด้วยพิษของการเมือง นายเลยให้คำคมเก๋ๆเอาไว้ว่า “คนที่ฉลาดเกินกว่าจะยุ่งเรื่องของการเมือง จะถูกลงโทษด้วยการถูกคนที่โง่กว่าปกครอง”
.
โอ้โหหหห แสบมากกกกก โอ้ยยย เจ็บไปทั้งหัวใจ ทำไมยังทน #เสียงโบกี้ไลออน
.
จริงๆแล้ว เพลโต้นางชอบการปกครองด้วย รัฐที่มีผู้นำนะ แต่หลักการต่างๆต้องประกอบได้ด้วยความมี Moral หรือศีลธรรมที่ดี หมายถึงผู้นำต้องมี Moral ให้ได้ และผู้นำอันยิ่งใหญ่เหล่านั้น เมื่อไม่ถูกตรวจสอบและตั้งคำถาม ย่อมไม่อาจนำไปพัฒนาสติปัญญา เพื่อรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงได้ ดังเช่น อาณาจักรเอเธนส์อันยิ่งใหญ่ ที่ไม่นานนักก็ล่มสลายและเสื่อมถอยไปในที่สุด
.
ตอนนี้ประเทศไทยเรามี “กลุ่มคนปกครอง” แล้ว เราเรียกตัวเองว่า “ประชาธิปไตย”(หรอ) แล้ว แต่ผู้นำ มี “Moral” ไหม อันนี้อยากให้คิดหาคำตอบต่อกันเอาเอง …
.
ท้ายที่สุด การปกครองด้วยระบอบไหน คงเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันอีกยาวนาน
.
ส่วนตัวเชื่อว่า “ปรัชญาการเมือง” นั้นไม่ตาย สังคมถูกตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับรัฐ ว่ารัฐที่เรากำลังอยู่นั้น “ดีจริง” หรือแค่ “มายา”
.
….หรือ “ผู้นำ” ที่กำลังนำเราอยู่นั้น มี “Moral” อยู่มากแค่ไหน อันนี้ลองให้คิดหาเหตุผลกันดีๆ เพราะสุดท้าย “การเสียสละของนักปกครอง” อาจจะไม่ได้แค่เป็น “ผู้ปกครอง” เฉยๆ แล้วใช้อำนาจเพื่อพรรคพวกตน หรือเห็นแต่ความเป็นอยู่ของตัวเอง ดังคำกล่าวของเพลโต้ที่ว่า “ผู้นำของรัฐ ควรจะเป็นผู้นำกลุ่มน้อยที่ทรงภูมิความรู้และเปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศตนเองให้กับรัฐ เมื่อรัฐมีผู้นำที่มีคุณภาพเช่นนี้ รัฐนั้นก็เจริญก้าวหน้า มีระบบการบริหารที่ดี ประชาชนจะมีชีวิตที่เป็นสุข”
.
.
.
ขอบคุณ อาจารย์จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี หรือที่เราเรียกลำลองว่า อาจารย์อุมาวิชชี่ ?? ที่พร่ำสอนนักศึกษาให้เข้าใจวิชาอารยธรรมตะวันตก มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ❤️ แม้ตอนนั้นอิชั้นจะได้เกรดอาจารย์แค่ C ซึ่งเป็นไม่กี่วิชาที่ได้ C (จะอวดว่าตัวเองได้แค่ B ขึ้นไปงั้นแหละ) แต่สนุกสนาน และได้ความรู้ รวมไปถึงจดจำความเป็นไปของปรัชญานี้ได้อยู่ อ่านเพลินๆแบบเล่านิทานเล่นๆล่ะกันเนอะ ❤️

#ข้อมูลผิดพลาดตรงไหนบอกเข้ามาได้เด้อ